Baby Hello Kitty

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์  ที่ 2 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 7 กลุ่ม 104
ความรู้ที่ได้รับ
-ได้รู้จักและเพิ่มเพลงของเด็กปฐมวัยมากขึ้น เช่น เพลงดวงอาทิตย์ เพลงงดวงจันทร์ เพลงดอกมะลิ  เพลงกุหลาบ  เพลงนกเขาขัน  เพลงรำวงดอกมะลิ เป็นต้น
-การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
สรุปเนื้อหาที่เรียน


กิจกรรมวันนี้
เล่มเกมทายใจด้วยเครื่องเล่นสวนสนุกซึ่งเกมนี้เป็นเกมทางจิตวิทยาของญี่ปุ่น
การนำไปใช้
ทำให้เรารู้วิธีการสอนเด็กพิเศษในด้านสังคมได้อย่างถูกต้องและสามาถรส่งให้เด็กได้มีพัฒนาการได้อย่างถูกต้องตามวัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ประเมินตนเอง
วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจทำกิจกรรมและร้องเพลงที่อาจารย์มอบหมายให้
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆดูมีความสุขมากกับการร้องเพลงและทำกิจกรรมค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนสนุกมากค่ะและบรรยายเนื้อหาได้อย่างละเอียดดีมากเลยค่ะ
เกร็ดความรู้เพื่อครู

ฮิคิโคโมริ : อาการป่วยทางสังคมของเด็กยุคนี้ที่พ่อแม่ต้องรู้

ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า "ฮิคกี้" เป็นปรากฎการณ์ (Phenomenon) อธิบายถึงพฤติกรรมของเด็กที่แยกตัวออกมาจากสังคม พยายามพบเจอผู้คนให้น้อยที่สุด อาการของเด็กที่เป็นฮิคิโคโมริ มักจะเก็บตัวในห้องส่วนตัว หรือในบ้านเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ยอมไปโรงเรียน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็อาจจะอ่านหนังสือการ์ตูน เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ดูทีวี หรืออาจจะนั่งเฉยๆ อยู่ในห้องคนเดียวได้เป็นเดือนๆ เป็นปีๆ หรือหลายๆ ปี อาการฮิคิโคโมริ ถูกกระตุ้นให้เห็นอย่างชัดเจน เนื่องเพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีระดับต้นๆ ของโลก ทั้งชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น มีทั้งโทรทัศน์ เกม คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ทำให้เด็กฮิคิโคโมริสามารถขังตัวเองอยู่ในห้องได้นานขึ้น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงวินิทรา นวลละออง จิตแพทย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายเรื่องนี้ได้น่าสนใจว่า มีหลายทฤษฎีที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ได้ นั่นคือทางสังคมวิทยา ทางจิตวิทยา และทางการแพทย์ทางสังคมวิทยา น่าสังเกตว่าฮิคกี้มีแต่ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีวัฒนธรรมทำนองว่า "คนที่มีคุณค่าต้องเก่ง" และ "ทำอะไรต้องคิดถึงสายตาคนอื่นก่อน" ฮิคกี้มีบุคลิกพื้นฐานที่อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์อยู่แล้ว เมื่อไปเกิดในวัฒนธรรมที่เข้มงวด แม้ว่าจะเก่งมาจากไหน แต่แค่พลาดครั้งเดียวอาจทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้หมดสิ้นแล้ว เขาจึงกลัวสังคมและถอยหนีมาอยู่กับตัวเองเพียงคนเดียวทางจิตวิทยา ฮิคกี้มีลักษณะเด่นคือการ "หนี" (avoidance) คำว่า หนี ไม่เหมือนเพิกเฉย (denial) หรือชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ (schizoid) แต่การหนีหมายถึงที่จริงอยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพียงแต่ด้วยปัจจัยบางอย่างทำให้เขามีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างจำกัดมากๆ เช่น อยู่กับเพื่อนได้ไม่นาน หรืออยู่ได้กับเพื่อนบางคนที่เข้าใจ ปัญหาคือคนที่จะเข้าใจข้อจำกัดนี้มีไม่มากนัก กระทั่งพ่อแม่บางทีก็ไม่เข้าใจเพราะคิดไปว่าลูกเป็นฮิคกี้แสดงว่าลูกอยากอยู่คนเดียวจึงถอยหนีออกมา สุดท้ายคิดว่าอยากทำอะไรก็ให้ทำไป ฮิคกี้จึงเหมือนตัดขาดจากโลกภายทางการแพทย์ มีโรคหนึ่งชื่อว่ากลุ่ม PDDs (Pervasive Developmental Disorders) ซึ่งการแสดงออกคล้ายฮิคกี้มาก ส่วนที่เหมือนคือ PDDs มักอยู่กับตัวเอง ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์หรือการเข้าสังคม แต่ PDDs ไม่ใช่ปัจจัยหลักให้เกิดฮิคกี้แน่ๆ เพราะ PDDs ประเทศอื่นไม่เห็นเป็นฮิคกี้เลย มีแต่ญี่ปุ่นนี่แหละที่เป็น ดังนั้น ปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมจึงน่าจะเป็นปัจจัยหลักมากกว่า ส่วนเรื่องทางการแพทย์ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ในสังคมขึ้น

นางสาวชลธิชา  ป้องคำ  5511203910


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น